เสวนา “แรงงานสร้างสรรค์ในพื้นที่สกรีน สิ่งพิมพ์ การแปลสื่อโสตทัศน์ และการรวมตัวกันใหม่หลังโควิด-19”
RILCA ร่วมกับ พิพิธภัณฑ์แรงงานไทย จัดการเสวนา “แรงงานสร้างสรรค์ในพื้นที่สกรีน สิ่งพิมพ์ การแปลสื่อโสตทัศน์ และการรวมตัวกันใหม่หลังโควิด-19”
กลุ่มวิจัยสุนทรียศาสตร์และสังคมวิทยาวัฒนธรรม สถาบันวิจัยภาษาและวัฒนธรรมเอเชีย โดย ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ณรงค์ อาจสมิติ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.วิกานดา พรหมขุนทอง และดร.จูยิน แซ่จาง ร่วมกับ โครงการจัตุรัสวัฒนธรรม (MU Quarter) และพิพิธภัณฑ์แรงงานไทย จัดการเสวนาในหัวข้อ “แรงงานสร้างสรรค์ในพื้นที่สกรีน สิ่งพิมพ์ การแปลสื่อโสตทัศน์ และการรวมตัวกันใหม่หลังโควิด-19” Creative labour in screen, publishing, audiovisual translation and the re-composition post-COVID-19 ในวันที่ 28 กันยายน 2567 ณ พิพิธภัณฑ์แรงงานไทย นิคมมักกะสัน โดยกิจกรรมในครั้งนี้ เป็นส่วนหนึ่งในการขับเคลื่อนการสร้างองค์ความรู้ข้ามสาขาและสร้างเครือข่ายเพื่อขยายความร่วมมือทางวิชาการและอุตสาหกรรมต่อไปในอนาคต
การสวนาแบ่งออกเป็น 2 ช่วงด้วยกัน โดยช่วงเช้ามีเสวนาในประเด็น “พลวัตของอุตสาหกรรมสกรีน การแปลสื่อโสตทัศน์ และแรงงานสร้างสรรค์” โดยมี คุณต้องตา สุธรรมรังษี (นักแปลหนังสือและซับไตเติ้ล) คุณธัญวรัตม์ สมบัติวัฒนา (โปรดิวเซอร์อิสระและนักแปลพาร์ทไทม์) และคุณพิมพ์ชนก พุกสุข (นักเขียนอิสระและกองบรรณาธิการ The101.world) เป็นวิทยากร ซึ่งเป็นผู้เชี่ยวชาญร่วมแลกเปลี่ยนเกี่ยวกับลักษณะของงานสร้างสรรค์ ค่าตอบแทน การเปลี่ยนแปลงด้านเทคโนโลยี สวัสดิภาพและความมั่นคงในชีวิต ในช่วงบ่ายเป็นการเสวนาขยายประเด็นไปที่ “การรวมตัวของแรงงานข้ามอุตสาหกรรมในภาวะโรคระบาดและสถานการณ์ปัจจุบัน” โดยมี คุณวาสนา ลำดี (นักสื่อสารแรงงาน พิพิธภัณฑ์แรงงานไทย) คุณเกศนคร พจนวรพงษ์ ผู้ร่วมก่อตั้งสหภาพแรงงานสร้างสรรค์ (Creative Workers Union Thailand) และคุณมานุสส วรสิงห์ (สมาคมนักลำดับภาพ ประเทศไทย FEAT : Film Editors Association of Thailand) เป็นวิทยการ ซึ่งเป็นผู้ที่มีประสบการณ์เกี่ยวกับการรวมตัว ต่อรอง และสื่อสารประเด็นแรงงานในประเทศไทยในมุมมองที่แตกต่างกันไป หลังการเสวนาได้รับเกียรติจากทีมงานของพิพิธภัณฑ์แรงงานไทยพานำชมนิทรรศการประวัติศาสตร์แรงงานไทยและการต่อสู้เพื่อการได้รับการคุ้มครองที่เป็นธรรม
ผู้สนใจสามารถชมการเสวนาย้อนหลังได้ที่
https://www.youtube.com/watch?v=m1JuGALFd0o
Seminar on “Creative Labour in Screen, Publishing, Audiovisual Translation, and Post-COVID-19 Recomposition”
On September 28, 2024, the Aesthetics and Cultural Sociology Research Group of the Research Institute for Languages and Cultures of Asia (RILCA), led by Asst. Prof. Dr. Narong Ardsmiti, Asst. Prof. Dr. Wikanda Promkhuntong, and Dr. Jooyin Saejang, in collaboration with the Thai Labour Museum, organized a seminar titled “Creative Labour in Screen, Publishing, Audiovisual Translation, and Post-COVID-19 Recomposition” at the Thai Labour Museum, Makkasan Industrial Estate. This seminar was part of a broader initiative to foster interdisciplinary knowledge creation and build networks for advancing academic and industrial collaboration in the future.