มหาวิทยาลัยมหิดล     |     Webmail     |     RILCA Intranet     |     ติดต่อ     ||     EN     |     ไทย     ||       |    |    |    |    |  
 
  หน้าแรก          เกี่ยวกับสถาบัน          บุคลากร          วิจัย           หลักสูตร          นักศึกษาและศิษย์เก่า          สัมมนาและกิจกรรมความรู้           ศิลปวัฒนธรรม          สิ่งพิมพ์และมัลติมีเดีย          ข่าวประชาสัมพันธ์
 
   
 
ปริญญาเอก
 
   
 
พหุวัฒนธรรม (นานาชาติ)
 
   
 
ปริญญาโท
 
   
   
   
     
 
 
หน้าแรก  >  หลักสูตร  >  ปริญญาเอก  >  พหุวัฒนธรรม (นานาชาติ)
 
พหุวัฒนธรรม (นานาชาติ) (หลักสูตรปรับปรุง พ.ศ. 2560)
   
ชื่อหลักสูตร :
ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาพหุวัฒนธรรมศึกษา (หลักสูตรนานาชาติ)
ชื่อปริญญา :
ชื่อเต็ม ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต (พหุวัฒนธรรมศึกษา)
 
ชื่อย่อ ปร.ด. (พหุวัฒนธรรมศึกษา)


หลักสูตรปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาพหุวัฒนธรรมศึกษา มุ่งให้มีการศึกษาประเด็นต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับความหลากหลายทางวัฒนธรรมและความเป็นพลเมือง ความสัมพันธ์ระหว่างเชื้อชาติ วัฒนธรรม สถานะพลเมืองกับปัจจัยด้านชนชั้น เพศ และอายุ ที่มีผลต่อความไม่เท่าเทียมและการกีดกัน ทางสังคมในบริบทของประเทศไทยและภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ จีน และอินเดีย โดยศึกษากลุ่มชาติพันธุ์ ชนกลุ่มน้อย ผู้อพยพ และผู้ลี้ภัย คนไร้รัฐ ตลอดจนชุมชนทางวัฒนธรรมต่างๆ เพื่อทำความเข้าใจ แก้ปัญหาการเลือกปฏิบัติ การกีดกันทางสังคม และการเข้าถึงสิทธิขั้นพื้นฐานได้อย่างเหมาะสม

หลักสูตรนี้เป็นช่องทางให้ผู้ปฏิบัติงานในองค์กรของรัฐ องค์กรพัฒนาเอกชน องค์กรทางศาสนา องค์กรระหว่างประเทศ ตลอดจนนักวิเคราะห์สังคมและนโยบายมีโอกาสพัฒนาตนเอง โดยการเพิ่มเติมความรู้ระดับสูงในด้านความหลากหลายทางวัฒนธรรม และการพัฒนาทักษะในการวิจัยสังคม

หลักสูตรปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาพหุวัฒนธรรมศึกษา เป็นส่วนหนึ่งของพันธกิจของสถาบันวิจัยภาษาและวัฒนธรรมเอเชีย ในการส่งเสริมการวิจัยด้านความหลากหลายทางวัฒนธรรมในประเทศไทยและในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ และการสร้างองค์ความรู้เกี่ยวกับพหุวัฒนธรรมจากมุมมองของเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ที่ผ่านมาสถาบันมีกิจกรรมทางวิชาการ การวิจัย การผึกอบรม และการผลักดันนโยบายที่เกี่ยวข้องกับการส่งเสริมความหลากหลายทางวัฒนธรรมและสิทธิของผู้อพยพ กลุ่มชาติพันธุ์ และกลุ่มผู้มีอัตลักษณ์ที่ถูกเบียดขับในสังคม โดยเน้นการทำงานร่วมกับชุมชนตลอดจนหน่วยงานภาครัฐ องค์กร พัฒนาเอกชน และองค์กรระหว่างประเทศที่เกี่ยวข้อง

การเรียนการสอน
            หลักสูตรภาคปกติ จัดการเรียนการสอนในวัน เวลาราชการ

อาชีพที่สามารถประกอบได้หลังสำเร็จการศึกษา

  • ผู้เชี่ยวชาญด้านพหุวัฒนธรรมศึกษา
  • นักวิจัยด้านความหลากหลายทางวัฒนธรรม
  • นักวิชาการด้านพหุวัฒนธรรมศึกษา
  • นักวิเคราะห์นโยบายพหุวัฒนธรรม
  • ที่ปรึกษาด้านนโยบายพหุวัฒนธรรม
  • ผู้ปฏิบัติงานในองค์กรภาครัฐ องค์กรพัฒนาเอกชน และองค์กรระหว่างประเทศที่ส่งเสริมความหลากหลายทางวัฒนธรรม

อาจารย์ประจำหลักสูตร

  • รองศาสตราจารย์ ดร.มรกต ไมยเออร์
    Ph.D. (History and Civilization)
  • รองศาสตราจารย์ ดร.ศิริจิต สุนันต๊ะ
    Ph.D. (Woman's and Gender Studies)
  • รองศาสตราจารย์ ดร.ฐิติมดี อาพัทธนานนท์
    Ph.D. (Education Administration)
  • ผู้ช่วยศาสตราจารย์ดร.ณรงค์ อาจสมิติ
    Ph.D. (Southeast Asian Studies)
  • ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ปัทมา พัฒน์พงษ์
    Ph.D. (Linguistics)
  • ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.สุมิตรา สุรรัตน์เดชา
    Ph.D. (Linguistics)
  • ดร.กรญาณ์ เตชะวงค์เสถียร
    Ph.D. (Translation Studies)
  • ดร.วิกานดา พรหมขุนทอง
    Ph.D. (Film Studies)

ข้อมูลเพิ่มเติม

รายละเอียดของหลักสูตร ... Download: PDF

ประธานหลักสูตร - รองศาสตราจารย์ ดร.ฐิติมดี อาพัทธนานนท์
โทรศัพท์ 0-2800-2308-14 ต่อ 3328
โทรสาร 0-2800-2332
Email : thithimadee.art@mahidol.ac.th

เลขานุการหลักสูตร - ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ณรงค์ อาจสมิติ
โทรศัพท์ 0-2800-2308-14 ต่อ 3331
โทรสาร 0-2800-2332
Email : narong.ard@mahidol.ac.th

งานสนับสนุนวิชาการ (หน่วยสนับสนุนการศึกษา)
โทรศัพท์ 0-2800-2303, 0-2800-2308-14 ต่อ 3213, 3230
โทรสาร 0-2800-2332

การรับสมัคร

 
 

INTERNATIONAL RELATIONS
Overview   |   Research Fellowship   |   International Staff

HOT ISSUE
จดหมายข่าว   |   วารสาร LC Journal   |   เพลงกล่อมลูก 4 ภาค   |   Green RILCA   |   ศูนย์ศึกษาฟื้นฟูภาษาและวัฒนธรรมในภาวะวิกฤต   |   ศูนย์ภารตะศึกษา   |   Eng24   |
คู่มือธรรมมาภิบาลมหาวิทยาลัยมหิดล   |   Download   |   จองห้องออนไลน์   |   ระบบแจ้งเงินเดือน (e-Payroll)   |   หนังสือรับรอง   |   Free Internet   |   สิทธิประโยชน์   |
พิพิธภัณฑ์มานุษยวิทยาวัฒนธรรม   |   Mahidol IR   |   คุณธรรมและความโปร่งใสในการดำเนินงาน    |   ขั้นตอนการปฏิบัติงานของสถาบัน