“OLD SONGS” and Performative Curation in the Newtro Age
สถาบันวิจัยภาษาและวัฒนธรรมเอเชีย มหาวิทยาลัยมหิดล ร่วมกับ ภาคีเครือข่าย จัดงานเสวนาวิชาการ “OLD SONGS” and Performative Curation in the Newtro Age
ดร.ชิงดวง ยุระยง ผู้ช่วยผู้อำนวยการฝ่ายวิเทศสัมพันธ์และความเป็นนานาชาติ สถาบันวิจัยภาษาและวัฒนธรรมเอเชีย มหาวิทยาลัยมหิดล เป็นประธานเปิดงานเสวนาวิชาการในหัวข้อ “OLD SONGS” and Performative Curation in the Newtro Age: on the aesthetic and social resonance of YouTube Channel Chu Hyŏnmi TV ซึ่งจัดโดย สถาบันวิจัยภาษาและวัฒนธรรมเอเชีย มหาวิทยาลัยมหิดล ร่วมกับ สถาบันดนตรีกัลป์ยาณิวัฒนา มหาวิทยาลัยศิลปากร และมหาวิทยาลัยเฮลซิงกิ ประเทศฟินแลนด์ ในวันที่ 23 ธันวาคม 2564 ผ่านการถ่ายทอดสดบน Facebook: PGVIS
ในโอกาสนี้ ได้รับเกียรติจาก Asst. Dr. Andrew Logie อาจารย์ประจำมหาวิทยาลัยเฮลซิงกิ ประเทศฟินแลนด์ ดร.สกาวรุ้ง สายบุญมี อาจารย์ประจำสถาบันวิจัยภาษาและวัฒนธรรมเอเชีย มหาวิทยาลัยมหิดล และอ.อานันท์ นาคคง อาจารย์ประจำคณะดุริยางคศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร มาร่วมเสวนา แลกเปลี่ยนความคิดเห็นเกี่ยวกับวัฒนธรรมดนตรีป๊อปในประเด็นช่อง YouTube ของนักร้องชาวเกาหลีชื่อดัง ชู ฮย็อนมี (Chu Hyŏnmi) TV จากมุมมองของบริบทสังคมเกาหลี อาทิ ความนิยมในสุนทรีย์ย้อนยุคกับดนตรี Trot ภายใต้การเมืองแบบอนุรักษ์นิยม และสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคโควิด-19
งานเสวนาวิชาการในครั้งนี้ เป็นส่วนหนึ่งของโครงการความร่วมมือ Northeast and Southeast Asian Studies Network in Finland and Thailand (NSEANET) ภายใต้ทุนสนับสนุนจากกระทรวงศึกษาธิการและวัฒนธรรม ประเทศฟินแลนด์ ระหว่างปี พ.ศ. 2563 ถึง 2565 โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อแลกเปลี่ยนความรู้ความเชี่ยวชาญระหว่างบุคลากรและนักศึกษาในประเทศฟินแลนด์และไทย ทั้งในด้านเนื้อหาและกระบวนการวิจัยทวีปเอเชียเชิงเปรียบเทียบและข้ามศาสตร์ระหว่างภาษาศาสตร์ ประวัติศาสตร์ โบราณคดี และวัฒนธรรมศึกษา อีกทั้งยังเป็นการพัฒนาการเรียนการสอนและผลักดันการวิจัยเชิงเปรียบเทียบจากบริบททวีปเอเชียสู่บริบทสากลทั่วโลก สร้างพื้นที่การสนทนาและตีแผ่มุมมองเชิงเปรียบเทียบที่มีความสำคัญมากขึ้นอย่างต่อเนื่องในการทำความเข้าใจสังคมมนุษย์และความหลากหลายทางวัฒนธรรมในยุค Disruption ปัจจุบัน