วิธีการเก็บข้อมูลเสียงวรรณยุกต์ภาษาถิ่นด้วยโปรแกรม Praat รุ่นที่ 2

การอบรมเทคโนโลยีดิจิทัลเพื่อการวิจัยทางภาษาศาสตร์ หัวข้อ “วิธีการเก็บข้อมูลเสียงวรรณยุกต์ภาษาถิ่น และการวิเคราะห์เสียงวรรณยุกต์ด้วยโปรแกรม Praat” รุ่นที่ 2

 สถาบันวิจัยภาษาและวัฒนธรรมเอเชีย (RILCA) จัดการอบรมเทคโนโลยีดิจิทัลเพื่อการวิจัยทางภาษาศาสตร์ หัวข้อ “วิธีการเก็บข้อมูลเสียงวรรณยุกต์ภาษาถิ่น และการวิเคราะห์เสียงวรรณยุกต์ด้วยโปรแกรม Praat” รุ่นที่ 2 โดยมี ดร.ยุทธพร นาคสุข อาจารย์ประจำหลักสูตรภาษาศาสตร์ และนายศักดิ์นรินทร์ พิมพ์วันคำ นักศึกษาปริญญาโทหลักสูตรภาษาศาสตร์ ของสถาบันฯ เป็นวิทยากร ในวันที่ 21 มีนาคม 2565 ผ่านโปรแกรม Microsoft Teams

การอบรมในครั้งนี้ จัดขึ้นเพื่อส่งเสริมให้ผู้เข้ารับการอบรมเกิดความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับวิธีการเก็บข้อมูลเสียงวรรณยุกต์จากการลงพื้นที่วิจัยภาคสนาม และสามารถใช้ฟังก์ชันพื้นฐานของโปรแกรม Praat ในการวิเคราะห์และนำเสนอข้อมูลเกี่ยวกับลักษณะเสียงวรรณยุกต์ได้ โดยเฉพาะด้านเสียงวรรณยุกต์ในภาษาไทยถิ่นต่าง ๆ

สำหรับผู้ที่สนใจสมัครเข้าร่วมการอบรม “เทคโนโลยีดิจิทัลเพื่อการวิจัยทางภาษาศาสตร์” สามารถติดต่อสอบถาม ได้ที่ งานบริการวิชาการและศิลปวัฒนธรรมสร้างสรรค์ โทร. 098-143-2308 หรือ E-mail: wassana.sua@mahidol.edu

Training in the use of digital technology in linguistics research on the topic “Methods for gathering dialect tone data and tone analysis using the Praat program,” 2nd edition
On March 21, 2022, RILCA at Mahidol University hosted a session on digital technology training for linguistics research on the topic “Methods of gathering dialect tone data and tone analysis using the Praat program,” 2nd edition via Microsoft Teams. Dr. Yuttaporn Naksuk, Chair of the MA in Linguistics program, and Mr. Saknarin Pimwankum, a master’s degree student in Linguistics, presented the session.