การประชุมรับฟังข้อเสนอแนะด้านพหุภาษา พหุวัฒนธรรมอาเซียน+3
สถาบันวิจัยภาษาและวัฒนธรรมเอเชีย (RILCA) มหาวิทยาลัยมหิดล จัดการประชุมรับฟังข้อเสนอแนะด้านพหุภาษา พหุวัฒนธรรมอาเซียน+3 โดยมี รองศาสตราจารย์ดร.มรกต ไมยเออร์ ผู้อำนวยการสถาบันวิจัยภาษาและวัฒนธรรมเอเชีย เป็นประธานเปิดการประชุม ในโอกาสนี้ ได้รับเกียรติจาก คุณหญิงลักษณาจันทร เลาหพันธุ์ กรรมการสภามหาวิทยาลัยผู้ทรงคุณวุฒิ คุณดำรง ใคร่ครวญ อดีตเอกอัครราชทูต สถานเอกอัครราชทูตไทย ณ เวียงจันทน์ คุณไพฑูรย์ มหาพัณณาภรณ์ รองอธิบดีกรมอาเซียน กระทรวงต่างประเทศ คุณวรรัตน์ เลิศอนันต์ตระกูล ผู้อำนวยการฝ่ายบริหารทรัพยากรบุคคล บริษัท ไทยยูเนี่ยนกรุ๊ป จำกัด (มหาชน) และ รองศาสตราจารย์ ดร.โสภนา ศรีจำปา ประธานศูนย์ภารตะศึกษา สถาบันฯ เข้าร่วมประชุมในครั้งนี้ด้วย ในวันนี้ 28 มีนาคม 2565 ผ่านระบบออนไลน์ Webex Meeting
การประชุมครั้งนี้ สถาบันวิจัยภาษาและวัฒนธรรมเอเชีย มหาวิทยาลัยมหิดล จัดขึ้นเพื่อแลกเปลี่ยนความรู้และความคิดเห็นเกี่ยวกับกรอบแนวคิดและแนวทางการใช้กลไกการทูตเชิงวัฒนธรรมในการขับเคลื่อนนโยบายด้านพหุภาษา พหุวัฒนธรรมอาเซียน+3 สู่สังคม ที่สามารถตอบสนองเป้าหมายการพัฒนาสังคมอย่างยั่งยืนตามแนวทาง SDGs และสอดคล้องกับการเปลี่ยนแปลงของสังคมในยุค VUCA World : Volatility / Uncertainty /Complexity / Ambiguity ที่มีความเปลี่ยนแปลงทางด้านเทคโนโลยี สภาพแวดล้อม และการแข่งขันที่เพิ่มมากขึ้นในสังคมโลกยุคปัจจุบัน
Seminar on Multicultural ASEAN+3
On March 28, 2022, RILCA and Mahidol University hosted a seminar to solicit recommendations for a multilingual ASEAN+3. On this occasion, Assoc. Prof. Dr. Morakot Meyer, Director of the RILCA, delivered the introductory remarks. The meeting was honored by Mr. Damrong Kraikruan, former ambassador to the Royal Thai Embassy in Vientien, Khunying Laxanachantorn Laohaphan, Honorable University Committee Member, Mr. Paitoon Mahapannaporn, Deputy Director-General, Department of ASEAN Affairs, Ministry of Foreign Affairs, Miss Vorarat Lertanantrakul, Director of Human Resources Management, Thai Ruamsin Industrial Development Co., Ltd., and Assoc. Prof. Sophana Srichampa, Chairman of Center of the center of Bharat studies at RILCA via the Webex Meeting.