การเยี่ยมชมและรับฟังการนำเสนอผลการดำเนินงานของสถาบันวิจัยภาษาและวัฒนธรรมเอเชีย มหาวิทยาลัยมหิดล University Council Visit ครั้งที่ 2
ศาสตราจารย์คลินิกเกียรติคุณ นพ.ปิยะสกล สกลสัตยาทร นายกสภามหาวิทยาลัย และกรรมการสภามหาวิทยาลัยมหิดล พร้อมด้วย ศาสตราจารย์ นพ.บรรจง มไหสวริยะ อธิการบดี และทีมผู้บริหารมหาวิทยาลัยมหิดล เข้าเยี่ยมชมและรับฟังการนำเสนอผลการดำเนินงาน University Council Visit ครั้งที่ 2 ของสถาบันวิจัยภาษาและวัฒนธรรมเอเชีย โดยมี ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.มรกต ไมยเออร์ ผู้อำนวยการสถาบันฯ พร้อมผู้บริหารร่วมให้การต้อนรับ และนำเสนอผลความสำเร็จในการดำเนินงานที่ผ่านมา (ปีงบประมาณ 2563-2564) พร้อมกล่าวถึงเป้าหมายแผนการดำเนินงาน อุปสรรค และการแก้ไขปัญหาในการดำเนินงานที่ผ่านมาและคาดว่าจะเกิดขึ้นในอนาคตข้างหน้า (ปีงบประมาณ 2564-2565) ในวันที่ 20 กรกฎาคม 2564 ผ่านระบบออนไลน์ Webex Meeting โดยมีประเด็นดังต่อไปนี้
การดำเนินงานตามเป้าหมายที่ผ่านมาและคาดว่าจะเกิดขึ้นในอนาคต
1. จัดทำระบบสารสนเทศอัจฉริยะด้านภาษาและวัฒนธรรม
2. สร้างความเป็นธรรมและลดความเหลื่อมล้ำในสังคม ด้วยการวิจัยพัฒนาระบบการศึกษาและนวัตกรรมในพื้นที่พิเศษ (พหุชาติพันธุ์-พหุวัฒนธรรม) แถบชายแดนไทย-พม่า และขยายให้ครอบคลุมชายแดนทั่วประเทศ
3. ยกระดับคุณภาพทุนมนุษย์ของประเทศ โดยเปิดศูนย์อบรมทางภาษาและวัฒนธรรม และการศึกษาแบบครบวงจร (จัดการอบรมภาษาและวัฒนธรรม รับรองคุณภาพด้านภาษา (MU-Thai test) และสร้างผู้ประกอบการด้านภาษาฯ)
4. สร้างความเข้มแข็งทางเศรฐกิจและแข่งขันได้ โดยวิจัยและพัฒนาการท่องเที่ยวพื้นที่เมืองรองและภูมิภาค (จีน อินเดีย และอาเซียน) ด้วยต้นทุนทางประวัติศาสตร์และวัฒนธรรม
5. เสริมสร้างและพัฒนาศักยภาพทุนมนุษย์ด้วยวัฒนธรรม ด้วยโครงการส่งเสริมความเข้มแข็งของครอบครัวไทยผ่านภาษาและวัฒนธรรมร่วมกับกรมกิจการสตรีและสถาบันครอบครัว และกรมกิจการผู้สูงอายุ (กระทรวงการพัฒนาสังคมฯ)
เป้าหมายที่จะดำเนินการเพิ่มเติมในอีก 2 ปีข้างหน้า
1. RILCA R&D Sandbox โครงการ Sandbox My Q-My H ควบคู่ MU Talents & RILCA Talents
2. สร้างเครือข่ายการวิจัยและการศึกษาแบบครบวงจรในลักษณะ Strategic partner ทั้งการวิจัยร่วมและการพัฒนาหลักสูตร Double Degree (หลักสูตรนานาชาติ) กับมหาวิทยาลัยต่างประเทศ เพื่อมุ่งยกระดับ Subject Ranking ด้านภาษาและวัฒนธรรม
3. สร้างความเป็นธรรมและลดความเหลื่อมล้ำในมิติภาษา วัฒนธรรม พหุวัฒนธรรม และการสื่อสารระหว่างวัฒนธรรม เพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืน ผ่านการทำงานวิจัยที่มีการต่อยอด สร้างนวัตกรรม สร้างผลกระทบต่อสังคมและการชี้นำทางนโยบาย รวมทั้ง การจัดการศึกษาแบบยืดหยุ่น และการศึกษาตลอดชีวิตทั้งในและนอกดิจิทัลแพลตฟอร์ม
4. RILCA Smart Language and Cultural Diversity on Digital Platform
5. การพัฒนาแหล่งเรียนรู้ด้านพหุวัฒนธรรม-พหุภาษา ภายใต้แนวคิด MU Cultural Quarter
ทั้งนี้ ที่ประชุม ได้กล่าวชื่นชมสถาบันวิจัยภาษาและวัฒนธรรมเอเชีย ที่มีความมุ่งมั่นในการดำเนินงานเป็นอย่างดี มีผลงานหลากหลายเกินเป้าที่กำหนดและสอดคล้องกับ SDGs โดยสร้างงานวิจัยด้านภาษาและวัฒนธรรมที่นำไปสู่การเปลี่ยนแปลงนโยบายในระดับประเทศ เพื่อการรวมกลุ่มของประชาคมอาเซียนในด้านภาษาและวัฒนธรรม และขอให้สถาบันฯ เพิ่มการดำเนินงานให้ครอบคลุมมิติของ SDGs ยิ่งขึ้น เพื่อไปสู่การพัฒนาที่ยั่งยืน เป็นศูนย์กลางการรวบรวมภาษาชาติพันธุ์ เพื่อมิให้ภาษาชาติพันธุ์สูญหายไป และสามารถนำมาเป็นจุดเด่นด้านการท่องเที่ยวรูปแบบใหม่ในภูมิภาคได้ โดยการจัดอบรมภาษาและวัฒนธรรม รับรองคุณภาพด้านภาษา (MU-Thai test) ให้เป็นสากลมากขึ้น เพื่อตอบโจทย์กลุ่มลูกค้าที่หลากหลาย เช่น เป็นศูนย์รับรองคุณภาพด้านภาษาพม่า ลาว และจีน เป็นต้น สถาบันฯ ควรวางแนวทางการให้องค์ความรู้กับนักเรียนในระดับประถมศึกษา และมัธยมศึกษา เพื่อสืบทอดการใช้ภาษาไทย ได้อย่างถูกต้อง นอกจากนี้ ที่ประชุมได้เสนอให้เพิ่มหลักสูตรการเรียนการสอนออนไลน์ที่สามารถตอบโจทย์ความต้องการของนักศึกษาต่างชาติได้อีกด้วย