มหาวิทยาลัยมหิดล     |     Webmail     |     RILCA Intranet     |     ติดต่อ     ||     EN     |     ไทย     ||       |    |    |    |    |  
 
  หน้าแรก          เกี่ยวกับสถาบัน          บุคลากร          วิจัย           หลักสูตร          นักศึกษาและศิษย์เก่า          สัมมนาและกิจกรรมความรู้           ศิลปวัฒนธรรม          สิ่งพิมพ์และมัลติมีเดีย          ข่าวประชาสัมพันธ์
 
   
   
   
 
วิทยบริการ
 
   
   
   
   
   
   
   
   
   
 
จับกระแส LC
 
   
 
เครือข่ายในประเทศ
 
   
   
   
     
 
 
หน้าแรก  >  เกี่ยวกับสถาบัน  >   วิทยบริการ  >  ศูนย์ศึกษาและฟื้นฟูภาษาและวัฒนธรรมในภาวะวิกฤต
 
ศูนย์ศึกษาและฟื้นฟูภาษาและวัฒนธรรมในภาวะวิกฤต

โลกยุคโลกาภิวัฒน์ในปัจจุบันกำลังอยู่ในภาวะของการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว เศรษฐกิจ สังคม การเมืองระหว่างประเทศและ วัฒนธรรมสมัยใหม่มีอิทธิพลเป็นอย่างมาก การสื่อสารมีพลังไร้พรมแดนเข้าถึงแม้ในพื้นที่ห่างไกล ภาษาและวัฒนธรรมพื้นบ้านของ ชนกลุ่มเล็กกลุ่มน้อยอยู่ในภาวะอันตรายและเสี่ยงต่อการสูญสลาย สภาวการณ์เช่นนี้เป็นภัยคุกคามความหลากหลายทางภาษาและ วัฒนธรรมของกลุ่มชาติพันธุ์ต่างๆ เป็นปัญหาคล้ายกับการสูญเสียความหลากหลายทางชีวภาพในความสนใจของนักวิทยาศาสตร์ นักภาษาศาสตร์ได้คาดการณ์ทางสถิติไว้ว่าภายในศตวรรษนี้ร้อยละ 90 ของภาษาในโลกซึ่งมีกว่า 6,000 ภาษาจะต้องตายไปจากโลกนี้ มีเฉพาะภาษาใหญ่ๆ ภาษาระดับนานาชาติและภาษาประจำชาติที่มีผู้พูดจำนวนมากและมีการธำรงรักษาอย่างเข้มแข็งเท่านั้นที่จะรอดปลอดภัย

อย่างไรก็ตาม ผู้คนทั่วไปที่เกี่ยวข้องก็ยังขาดความตระหนักอย่างเพียงพอถึงความร้ายแรงของปัญหาภาวะวิกฤติทางภาษาและ ชาติพันธุ์ และผลกระทบที่เกิดขึ้นอันจะทำลายความหลากหลายทางภาษาและวัฒนธรรมซึ่งเป็นแหล่งเก็บภูมิปัญญาของมนุษยชาติติดต่อ กันมาเป็นเวลายาวนาน ส่งผลให้เกิดวิกฤตด้านอัตลักษณ์ของกลุ่มชนต่างๆ ต่อเนื่องกันไปเป็นลูกโซ่ ทำให้สังคมอ่อนแอขาดความเชื่อมั่น ความมั่นคง ซึ่งเป็นรากฐานของการดำรงชีวิตอย่างมีคุณภาพ

ในสภาวการณ์เช่นนี้ สิ่งที่จำเป็นเร่งด่วนประการหนึ่งคือการเร่งสร้างองค์ความรู้ในการจัดการกับปัญหา กล่าวคือการศึกษาและวิธีการฟื้นฟูธำรงรักษาภาษาในภาวะวิกฤตซึ่งยังนับว่าขาดแคลนอยู่มาก โดยเฉพาะอย่างยิ่งการสร้างองค์ความรู้ที่สังเคราะห์ขึ้นมาจาก ประสบการณ์การศึกษาและฟื้นฟูภาษาในบริบทของภูมิภาคเอเชียและประเทศไทย ทั้งนี้เพราะส่วนมากแล้วองค์ความรู้ดังกล่าวใน ปัจจุบันล้วนมาจากประสบการณ์ในกิจกรรมฟื้นฟูภาษานอกภูมิภาคเอเชีย ซึ่งมีบริบททางเศรษฐกิจ สังคม การเมืองและวัฒนธรรมที่แตก ต่างออกไป

สถาบันวิจัยภาษาและวัฒนธรรมเอเชีย ได้จัดตั้งศูนย์ศึกษาและฟื้นฟูภาษาและวัฒนธรรมในภาวะวิกฤต (ศฟภว.) (The Recource Center for Revitalization and Maintenance of Language and Cultures) เพื่อเป็นแหล่งของการศึกษา เรียนรู้ ฟื้นฟูและแลกเปลี่ยนวิธีการในการศึกษาและวิธีการในการฟื้นฟูภาษาและวัฒนธรรมของกลุ่มชนต่างๆ ในลักษณะสหวิทยาการ สำหรับนักวิชาการทั้งในและนอกประเทศรวมทั้งชุมชนต่างๆ โดยมีวัตถุประสงค์เบื้องต้นคือการศึกษาและบันทึกภาษาและวัฒนธรรม อาทิ การวิจัยและอธิบาย ระบบภาษาการศึกษานอกสถานภาพของภาษาและวัฒนธรรมของกลุ่มชนในพื้นที่ต่างๆ และในกลุ่มอายุต่างๆ การสร้างพจนานุกรม การศึกษารวบรวมนิทานพื้นบ้าน เพลงพื้นบ้าน ฯลฯ ให้ได้องค์ความรู้มากที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้ก่อนที่จะเสื่อม สลายไป และวัตถุประสงค์ขั้นถัดมาคือการร่วมมือกับชุมชนในการดำเนินกิจกรรมเพื่อฟื้นฟูภาษาและวัฒนธรรมตามความสนใจและความ พร้อมของแต่ละชุมชน โดยจัดประชุมปฏิบัติการ ฝึกอบรมและดำเนินกิจกรรมด้านต่างๆ พร้อมทั้งจัดพิมพ์เผยแพร่ผลงานจัดประชุม ระดับท้องถิ่น ระดับชาติและนานาชาติ รวมทั้งเป็นที่ปรึกษาด้านวิธีการศึกษาและวิธีการฟื้นฟูภาษาแก่ชุมชนที่สนใจการจัดทำตัวเขียน การฝึกเขียน การจัดทำหนังสือในภาษาพื้นบ้าน การจัดหลักสูตรท้องถิ่น การจัดศูนย์การเรียนรู้ชุมชน เป็นต้น

สถานที่ตั้ง :
ชั้น 2 อาคารภาษาและวัฒนธรรมสยามบรมราชกุมารี สถาบันวิจัยภาษาและวัฒนธรรมเอเชีย มหาวิทยาลัยมหิดล

เวลาทำการ :
09.30 - 16.00 น. (วันจันทร์ - ศุกร์)

ติดต่อ :
อาจารย์ ดร.มิรินด้า บูรรุ่งโรจน์
โทร. 0-2800-2308-14 ต่อ 3116, 3215, 3217, 3218

เว็บไซต์ :
http://www.langrevival.mahidol.ac.th

 
 

INTERNATIONAL RELATIONS
Overview   |   Research Fellowship   |   International Staff

HOT ISSUE
จดหมายข่าว   |   วารสาร LC Journal   |   เพลงกล่อมลูก 4 ภาค   |   Green RILCA   |   ศูนย์ศึกษาฟื้นฟูภาษาและวัฒนธรรมในภาวะวิกฤต   |   ศูนย์ภารตะศึกษา   |   Eng24   |
คู่มือธรรมมาภิบาลมหาวิทยาลัยมหิดล   |   Download   |   จองห้องออนไลน์   |   ระบบแจ้งเงินเดือน (e-Payroll)   |   หนังสือรับรอง   |   Free Internet   |   สิทธิประโยชน์   |
พิพิธภัณฑ์มานุษยวิทยาวัฒนธรรม   |   Mahidol IR   |   คุณธรรมและความโปร่งใสในการดำเนินงาน    |   ขั้นตอนการปฏิบัติงานของสถาบัน