อบรมเชิงปฏิสัมพันธ์แบบมีส่วนร่วม Design thinking for Covid-19 prevention and control with clinical management ครั้งที่ 2

กลุ่ม ICulture สถาบันวิจัยภาษาและวัฒนธรรมเอเชีย และ พันธกิจสัมพันธ์มหาวิทยาลัยมหิดล ได้รับเกียรติ จาก มหาวิทยาลัยมหิดล เป็นวิทยากรจัดอบรมเชิงปฏิสัมพันธ์แบบมีส่วนร่วม Design thinking for Covid-19 prevention and control with clinical management ครั้งที่ 2 จัดโดย คณะสัตวแพทย์ศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ร่วมกับ Thohun (Thailand one health University network) ได้รับทุนจาก USAID

การจัดอบรม design thinking ให้แก่อาจารย์และบุคลากรของมหาวิทยาลัยมหิดล ในการคิดแก้ปัญหาอย่างมีเหตุผลและสร้างสรรค์ เพื่อสร้างสรรค์นวัตกรรมที่แก้ปัญหา COVID-19

16 ธันวาคม 2563
ศ.กิตติคุณ ดร. พิไลพันธ์ พุทธวัฒนะ คณะเทคนิคการแพทย์ มหาวิทยาลัยมหิดล บรรยายความรู้พื้นฐานเกี่ยวกับ Covid 19 การป้องกัน และการรับมือในระลอก 2 ผศ.ดร.ศิวพงษ์ สังข์ประดิษฐ์ กล่าวถึงโครงการ one health การพัฒนาเพื่อการอยู่ร่วมกันอย่างยั่งยืนของ คน สัตว์ สิ่งแวดล้อม อ.ดร.พธู คูศรีพิทักษ์ และ ผศ.ดร.ชิตชยางค์ ยมาภัย และ คณะ จัดอบรมเชิงปฏิบัติการ designthinking กระบวนการคิดอย่างมีเหตุผลและสร้างสรรค์ หาปัญหาเป็น เห็นปัญหาจริง วิ่งหาทางออก บอกทางแก้ไข นำไปทดสอบ รอบคอบใคร่ครวญ ในวันแรก มองหาปัญหา จากสถาบันที่ไม่พึงประสงค์ วิเคราะห์สาเหตุของปัญหาที่แท้จริง เพื่อนำมาตั้งโจทย์ กำหนดคุณค่า

17 ธันวาคม 2563
ต่อเนื่องกระบวนการอบรม ด้วยการออกแบบหาทางแก้ไขให้แก่ปัญหานั้นอย่างเป็นรูปธรรม และมีนวัตกรรม คำนึงถึงความต้องการของผู้ใช้ ความเป็นไปได้ทางธุรกิจ และ เทคโนโลยี ช่วงเช้า ระดมสมอง และ หาทางออก สร้างต้นแบบผลิตภัณฑ์ บ่ายไตร่ตรอง สะท้อนคิด ผู้ร่วมอบรมได้สร้างสรรค์ นวัตกรรม 3 ชิ้น ได้แก่ เม็ดเจลแอลกอฮอล์ แก้ปัญหาขยะพลาสติกจากขวดเจลแอลกอฮอลล์ , smart hamlet แก้ปัญหาคนส่งอาหาร ต้องใส่หมวกกันน็อค และหน้ากากอนามั้ย, และ หน้ากากอนามัย เปลี่ยนสีได้ มีซิป แก้ปัญหาค่าใช้จ่ายในการเปลี่ยนหน้ากากอนามัยทุกวัน

ทั้งสามกลุ่มได้นำเสนอผลงานแก่คณะกรรมการ ศาสตราจารย์ ดร. นายแพทย์ภัทรชัย กีรติสิน สถาบันบริหารจัดการเทคโนโลยีและนวัตกรรม มหาวิทยาลัยมหิดล (iNT) ผศ.ดร.น.สพ.วิทวัช วิริยะรัตน์ รองคณบดีฝ่ายวิจัย สร้างเครือข่ายและวิทยาเขตกาญจนบุรี และ ผศ.ดร.ชิตชยางค์ ยมาภัย สถาบันวิจัยภาษาและวัฒนธรรมเอเชีย มหาวิทยาลัยมหิดล นวัตกรรมที่ดี คือนวัตกรรมที่แตกต่าง มีความเป็นไปได้ในการผลิต ดึงดูด ให้ซื้อ ตอบโจทย์ pain point ค่อย ๆ พัฒนาทีละขั้นตอน ผลงานที่ผ่านการพิจารณา และได้รับเงินรางวัล 30,000 บาท เพื่อไปพัฒนาต้นแบบผลิตภัณฑ์ได้แก่ เจลบอล อีก 2 กลุ่ม ยังมีโอกาสในการพัฒนาต่อ คณะกรรมการจะพิจารณา กลุ่มที่ไม่เข้ารอบแรก ของการอบรมทุกครั้ง ที่ได้คะแนนมากสุด ได้เข้ารอบในรอบต่อไป ด้วย ยังมีโอกาสลุ้นกันค่ะ

ขอบคุณคณะกรรมการที่สละเวลามาร่วมตัดสิน ให้ข้อคิดอันเป็นประโยชน์ ขอบคุณหัวหน้าโครงการ ผศ.ดร.ศิวพงษ์ สังข์ประดิษฐ์ คณะสัตวแพทย์ศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล และ ทีมงาน ขอบคุณผู้ร่วมอบรมชาว MU ทุกท่านที่มาร่วมแลกเปลี่ยนเรียนรู้กันค่ะ

พบกันครั้งต่อไป 27-28 มกราคม 2564 ณ วิทยาเขตพญาไท ค่ะ

ภาพ : FB RILCAmuseumstudies

23 thoughts on “อบรมเชิงปฏิสัมพันธ์แบบมีส่วนร่วม Design thinking for Covid-19 prevention and control with clinical management ครั้งที่ 2

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *