พัฒนาความร่วมมือในการเตรียมความพร้อมรับสถานการณ์การระบาดของเชื้อไวรัส โควิด19 ในกลุ่มแรงงานข้ามชาติ

สถาบันวิจัยภาษาฯ ร่วมหารือเพื่อพัฒนาความร่วมมือในการเตรียมความพร้อมรับสถานการณ์การระบาดของเชื้อไวรัส โควิด19 ในกลุ่มแรงงานข้ามชาติกับ ศูนย์สุขภาพจิตที่ 5 และ กรมสุขภาพจิต กระทรวงสาธารณสุข

สถาบันวิจัยภาษาและวัฒนธรรมเอเชีย มหาวิทยาลัยมหิดล นำโดย ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.มรกต ไมยเออร์ ผู้อำนวยการสถาบันฯ ร่วมหารือเพื่อพัฒนาความร่วมมือกับศูนย์สุขภาพจิตที่ 5 และกรมสุขภาพจิต กระทรวงสาธารณสุข โดยได้รับเกียรติจากศาสตราจารย์ นพ.บรรจง มไหสวริยะ อธิการบดีมหาวิทยาลัยมหิดล และ นพ.จุมภฏ พรมสีดา รองอธิบดีกรมสุขภาพจิต กระทรวงสาธารณสุข และนางสาวรัชวัลย์ บุญโฉม ผู้อำนวยการศูนย์สุขภาพจิตที่ 5 ในการประชุมปรึกษาหารือเพื่อพัฒนาความร่วมมือในการเตรียมความพร้อมรับสถานการณ์การระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19 ระลอกใหม่ในกลุ่มแรงงานข้ามชาติโดยเฉพาะจากประเทศเมียนมา วันที่ 22 ธันวาคม 2563 ณ ห้องวีไอพี ชั้น 5 ตึกสำนักงานอธิการบดี มหาวิทยาลัยมหิดล

ด้วยสถานการณ์การระบาดของโรคโควิด-19 ในประเทศไทยที่เป็นอยู่ในขณะนี้ มีการเริ่มระบาดใหม่ซึ่งมีแนวโน้มที่จะทวีความรุนแรงมากขึ้น โดยเฉพาะในเขตพื้นที่ในความดูแลศูนย์สุขภาพจิตที่ 5 ที่ครอบคลุมภาคตะวันตกและภาคใต้ตอนบนซึ่งรวมไปถึงจังหวัดสมุทรสาคร อันเป็นพื้นที่ที่มีความเสี่ยงสูงในการแพร่กระจายเชื้อไวรัสโคโรน่าในกลุ่มแรงงานข้ามชาติ สถาบันวิจัยภาษาและวัฒนธรรมเอเชีย มหาวิทยาลัยมหิดลมีความเชี่ยวชาญทางด้านพหุภาษาและพหุวัฒนธรรม และมีบุคลากรที่มีความรู้ด้านภาษาและวัฒนธรรมอาเซียนและดำเนินงานวิจัยกับกลุ่มแรงงานข้ามชาติมาอย่างต่อเนื่อง จึงมีความพร้อมในการร่วมมือกับศูนย์สุขภาพจิตที่ 5และกรมสุขภาพจิต กระทรวงสาธารณสุข เพื่อช่วยเหลือและสนับสนุนความรู้ทางวิชาการในด้านภาษาและวัฒนธรรมอาเซียน และการสื่อสารระหว่างวัฒนธรรมในกลุ่มแรงงานข้ามชาติ เพื่อรับมือกับสถานการณ์การระบาดของโรคโควิด-19

ในการหารือครั้งนี้ สถาบันวิจัยภาษาและวัฒนธรรมเอเชีย มหาวิทยาลัยมหิดลและกรมสุขภาพจิต กระทรวงสาธารณสุข แสดงเจตจำนงค์และความพร้อมที่จะพัฒนาความร่วมมือ ทั้งในด้านการวิจัยและวิชาการด้านภาษา วัฒนธรรม และพหุวัฒนธรรมอาเซียน รวมทั้งการร่วมกันเผยแพร่ความรู้เกี่ยวกับการรับมือกับสถานการณ์ด้านการสื่อสารระหว่างวัฒนธรรมในกลุ่มแรงงานข้ามชาติ เพื่อลดปัญหาด้านสุขภาพจิตของแรงงานข้ามชาติอันเกิดจากดภาวะโควิด-19 รวมทั้งในระยะยาวจะร่วมกันในการสร้างความเข้าใจอันดีระหว่างแรงงานข้ามชาติอาเซียนและพลเมืองไทย อันจะนำไปสู่การร่วมกันแก้ไขปัญหาและเสริมสร้างความเข้มแข็งและการพัฒนาสังคมอย่างยั่งยืนตามแนวทางการพัฒนาอย่างยั่งยืนของสหประชาชาติต่อไป

37 thoughts on “พัฒนาความร่วมมือในการเตรียมความพร้อมรับสถานการณ์การระบาดของเชื้อไวรัส โควิด19 ในกลุ่มแรงงานข้ามชาติ

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *