Mahidol University     |     Webmail     |     RILCA Intranet     |     Contact     ||     EN     |     TH     ||       |    |    |    |    |  
 
  Home            About us            People            Research             Program            Students & Alumni            Academic Services             Art & Culture            Publication & Multimedia            News & Events
 
   
   
 
Academic Works (in Thai)
 
   
   
   
   
   
   
 
Research Scoop (in Thai)
 
   
   
     
 
 
Home  >  Research  >  Research Scoop
 
RESEARCH SCOOP

พอได้ยินประโยคนี้ ไม่ว่าใครก็คงต้องตาโต ว่าการไปลอนดอนมันง่ายขนาดนั้นเชียวหรือ? อ๊ะๆ ไม่ลองก็ไม่รู้ ไปลอนดอนครั้งนี้ไม่ได้ไปเที่ยวนะจ๊ะ ไปเพื่อการฝึกอบรม ศึกษาดูงาน โดยที่ต้องผ่านการเข้าอบรมที่กรุงเทพฯ 3 วันก่อน และไปที่ลอนดอน สหราชอาณาจักร 5 วัน (ก็ระยะทางมันไกลนี่นา ไปทั้งทีก็ต้องใช้เวลาพอสมควร แค่การเดินทางก็เป็นวันแล้ว เวลาในการศึกษาดูงานแค่ 5 วันไม่มากหรอก แป๊บเดียวเอง ว่าแต่ ทำอย่างไร?? ถึงจะได้ไปล่ะ

อ่านต่อใน ... ไปลอนดอนกันเถอะ !
โดย ศิริเพ็ญ อึ้งสิทธิพูนพร : ungsitipoonporn@yahoo.com

 
 

รัฐทมิฬนาฑูเป็นรัฐที่มีขนาดเศรษฐกิจใหญ่ที่สุดเป็น ลำดับสี่ของอินเดีย เป็นเมืองใหญ่ที่มีทั้งภาคเศรษฐกิจและ อุตสาหกรรม รวมทั้งยังเป็นแหล่งทรัพยากรธรรมชาติที่มีความ ่หลากหลายทางชีวภาพ และเป็นแหล่งแร่ธาตุที่สำคัญอีกด้วย และเนื่องมาจากความน่าสนใจทั้งในด้านเศรษฐกิจ สังคม และวัฒนธรรม เป็นแรงจูงใจสำคัญให้ทีมวิจัยโครงการ "การจัดการความหลากหลายทางวัฒนธรรมในบรรษัทข้ามชาติ: กรณีศึกษาบริษัทอินเดียในไทยและบริษัท ไทยในอินเดีย" จากสถาบันฯ ได้เดินไปเก็บข้อมูลภาคสนามอันเนื่องมาจากงานวิจัย โดยผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.เรณู เหมือนจันทร์เชยได้ถ่ายทอดประสบประสบการณ์ภาคสนามที่ได้รับผ่านกรณี บริษัทร่วมทุนระหว่างไทยอินเดีย "ROCKWORTH" ที่ตั้งอยู่ในเจนไน รัฐทมิฬนาฑู ระหว่าง วันที่ 19-28 พฤษภาคม 2559 รวมการเดินทางทั้งหมด 10 วัน

อ่านต่อใน ... เรื่องเล่าจาก ROCKWORTH กับการเปิดตลาดที่เจนไน รัฐทมิฬนาฑู ประเทศอินเดีย

โดย เรณู เหมือนจันทร์เชย : renuaor2517@gmail.com

 
 

Newton Fund-TRF Midcareer Professional Development คือ อะไร จากชื่อโครงการน่าจะพอบอกได้กลายๆ ว่าเป็นโครงการฝึกอบรม พัฒนาทักษะสำหรับบุคคลากรรุ่นกลาง ว่าแต่ฝึกอบรมอะไร พัฒนาทักษะอะไร ให้กับคนรุ่นกลาง (เหมือนกับวัยกลางคนหรือไม่) บทความนี้มีคำตอบ

อ่านต่อใน ... Newton Fund-TRF Professional Development Program for Mid-Career Researchers รุ่นที่ 2

โดย ฐิติมดี อาพัทธนานนท์ : thithimadee.art@mahidol.ac.th

 
 

ด้วยความเชื่อและศรัทธาในพลังที่เกิดขึ้นจากพลังภายในชุมชนโดยคนในชุมชน และพลังแห่งการสร้างสรรค์จากเด็กและเยาวชน ผู้ที่จะทำหน้าที่ในการขับเคลื่อนสังคมในโลกอนาคตที่มีความ แตกต่างหลากหลาย กระบวนการจัดการเรียนรู้เรื่องความหลากหลายทางวัฒนธรรมจึงถูกนำ มาใช้เป็นเครื่องมือสำคัญในการเสริมสร้างความเข้มแข้งให้สังคมและวัฒนธรรม  ตลอดจนนำไป สู่การสร้างพลเมืองของประชาคมโลกที่รู้รากเหง้าและตระหนักรู้เท่าทันต่อความหลากหลายทาง วัฒนธรรม ภายใต้บริบทแห่งการเปลี่ยนแปลงของสังคมที่เกิดขึ้นในโลกปัจจุบันและอนาคต...

อ่านต่อใน ... การมีส่วนร่วมของชุมชนในการจัดการเรียนรู้เพื่อเสริมสร้างศักยภาพเด็ก เยาวชน บนฐานความหลากหลายทางวัฒนธรรม
โดย นันธิดา จันทรางศุ : nantida.cha@mahidol.ac.th

 
  

เรื่องเล่าจากภาคสนาม เป็นการถ่ายทอดประสบการณ์ตรงของผู้วิจัย ในการเข้าไปศึกษาเรียนรู้ความหลากหลายทางวัฒนธรรม ดังเรื่องเล่าในกรณีงานตักบาตรเทโวโรหณะของชาวมอญ ณ วัดศรีบูรณาวาสนี้ ผู้เขียนจะพาผู้อ่านทุกท่านไปทำความเข้าใจกับคำว่า "รู้เขา" และ "รู้เรา" ในอีกมุมมองหนึ่งในการทำความเข้าใจกับความหลากหลายทางวัฒนธรรม

อ่านต่อใน ... เรื่องเล่าภาคสนาม กรณีงานตักบาตรเทโวโรหณะของชาวมอญ ณ วัดศรีบูรณาวาส
โดย เรณู เหมือนจันทร์เชย : renuaor2517@gmail.com

 
  

เกร็ดเล็กเกร็ดน้อยจากการทำงานวิจัยภาคสนาม ที่สามารถสะท้อนให้เห็นถึงวิถีชีวิตที่แฝงไปด้วยภูมิปัญญาและคติความเชื่อที่น่าสนใจ ตำนาน "ถั่วขอ" ของชาวญัฮกุร" หนึ่งในเรื่องเล่าที่ยังคงมีชีวิตจากชุมชนกลุ่มชาติพันธุ์ในประเทศไทย ... คุณรู้จัก "ถั่วขอ" ไหม?... ถั่วขอ คือ อะไร? ... เกี่ยวข้องกับการดำรงชีวิตของชาวญัฮกุรอย่างไร? ...

อ่านต่อใน ... ตำนาน "ถั่วขอ" ของชาวญัฮกุร
โดย ศิริเพ็ญ อึ้งสิทธิพูนพร : ungsitipoonporn@yahoo.com

 
  

เมื่อนักวิจัยออกทำงานภาคสนาม มักพบกับเหตุการณ์หรือสถานการณ์ที่ไม่คาดคิดอยู่เสมอ การปรับตัวให้พร้อมรับเหตุการณ์เฉพาะหน้า และเปิดทุกผัสสะให้พร้อมรับการเรียนรู้จากสนาม นับเป็นบทเรียนสำคัญบทหนึ่งของนักวิจัย

อ่านต่อใน ... ชุมชนพร้อมให้การเรียนรู้แก่ผู้มาเยี่ยมเยือนเสมอ จะนัดหรือไม่นัด ... ไม่เป็นไร
โดย เรณู เหมือนจันทร์เชย : renuaor2517@gmail.com

 
  

เวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้เรื่องพิธีบอกทางของชาวไทยทรงดำ แสดงให้เห็นถึงนำวิธีการจัดกระบวนการสนทนากลุ่มมาใช้เป็นเครื่องมือวิจัย เพื่อแสวงหาแนวทางการจัดการพิธีกรรมของชุมชนอย่างเป็นรูปธรรม อีกทั้งยังเป็นกระบวนการที่ทำให้เกิดการแลกเปลี่ยนเรียนรู้กันระหว่างนักวิจัยและชุมชน ซึ่งเป็นหนทางหนึ่งในการคืนความรู้สู่ชุมชนอย่างยั่งยืน

อ่านต่อใน ... พิธีบอกทางของชาวไทยทรงดำ ณ วัดศรีประชาวัฒนาราม ต.บางปลา อ.บางเลน จ.นครปฐม
โดย เรณู เหมือนจันทร์เชย : renuaor2517@gmail.com

 
  

การศึกษาวิถีอาเซียน ในด้านการจัดการความหลากหลายทางวัฒนธรรมของกลุ่มคนพลัดถิ่นในประเทศไทย และประเทศมาเลเซียในมิติต่างๆ เพื่อเสนอเป็นนโยบายหรือแนวทางด้านประชาสังคมวัฒนธรรมอาเซียน ในการสร้างอัตลักษณ์อาเซียน และเพื่อให้อาเซียนเป็นสังคมที่มีเอกภาพ เอื้ออาทร และนำไปสู่สังคมสุขภาวะ

อ่านต่อใน ... การจัดการความหลากหลายทางวัฒนธรรมของคนพลัดถิ่นชาวจีน อินเดีย และพม่า : กรณีศึกษาประเทศไทยและประเทศมาเลเซีย
โดย โสภนา ศรีจาปา : sophana.sri@mahidol.ac.th, เอี่ยม ทองดี : iam2494b@gmail.com,
เรณู เหมือนจันทร์เชย : renuaor2517@gmail.com

 
  

ด้วยภาษาญัฮกุรไม่มีภาษาเขียน มีแต่ภาษาพูดที่ถ่ายทอดกันมาตั้งแต่โบราณ หากไม่มีการอนุรักษ์สืบทอด ก็จะสูญหายทั้งภาษาและมรดกทางภูมิปัญญา ชาวญัฮกุรส่วนหนึ่งที่เห็นความสาคัญดังกล่าวจึงรวมตัวกันทางานวิจัยชุมชน โดยมีนักภาษาศาสตร์จากสถาบันวิจัยภาษาและวัฒนธรรมเอเชียเป็นที่ปรึกษาให้คาแนะนา เริ่มวิจัยครั้งแรกในปี พ.ศ. 2548 จนได้ระบบตัวเขียนภาษาญัฮกุรอักษรไทย เพื่อใช้เป็นเครื่องมือในการบันทึกความรู้ ประวัติศาสตร์หรือสิ่งที่ต้องการถ่ายทอดออกมาเป็นตัวอักษร

อ่านต่อใน ... ภาคสนามญัฮกุร อีกหนึ่งพื้นที่ภาคสนามที่ใครๆ ก็อยากไปสัมผัส
โดย ศิริเพ็ญ อึ้งสิทธิพูนพร : siripen.ung@mahidol.ac.th

 
  

ประชาธิปไตย คือ ชีวิตประจำวัน เป็นเรื่องใกล้ตัว ไม่ใช่เพียงเรื่องประเด็นทางการเมืองการปกครองอย่างเดียวประชาธิปไตย คือ การที่เราอยู่ร่วมกันอย่างมีความสุขภายใต้สิทธิเสรีภาพ สิทธิ เสรีภาพ ความเสมอภาคและเท่าเทียมกัน ภายใต้กฎระเบียบวินัย รู้จักการใช้เหตุผล มีความสามัคคี ความเอื้ออาทร มีน้ำใจ การประนีประนอม พึ่งพาอาศัย เพื่อให้สังคมอยู่ร่วมกันอย่างสบายใจและเป็นสุขการอยู่ร่วมกันแบบมีส่วนร่วม "ส่วนร่วม-ส่วนรวม" คือ การมีส่วนร่วมของประชาชน ในการแก้ไขปัญหา ตัดสินใจ ภายใต้กรอบความคิดที่มีหลักการและเหตุผล เอื้ออาทร แบ่งปัน ประนีประนอม ความสามัคคี มีความรับผิดชอบ มีจิตสาธารณะ มีความพอเพียง ไม่เอารัดเอาเปรียบ เคารพและยอมรับในความแตกต่าง จึงจะทำให้สังคมมีความสงบสุข มีขอบเขต

อ่านต่อใน ... เสียงสะท้อนของเด็กไทย...จากเวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้ "ประชาธิปไตยในวิถีไทย"
โดย นันทิยา ดวงภุมเมศ : nuntiya.dou@mahidol.ac.th

 
 

Urbanization is encroaching on rural life and makes the "rural area" smaller and smaller to the point we can see traditional way of life only in television programs or period dramas. But you still hear the cock‐a‐doodle‐doos at 4 or 5 am in the morning, with cool breezes outside your windows at Tai Lue Village in Xishuangbanna.

Read more in Let's go and listen to the cock-a-doodle-doos at dawn
By Werapong Mesathan : werapong.mes@mahidol.ac.th

 
 

It's only the beginning now
... a pathway yet unknown
At times the sound of other steps
... sometimes we walk alone

Read more in New Beginnings
By Dr. Amon Sangmanee

 
 

The number of Thai‐Malayu children who speak Patani‐Malay language in the Deep South of Thailand is tending to decrease. A survey on the use of language in Thailand's Deep South showed that the new generation children between 15‐24 years old were using Malay to communicate with their parents less and less and were using Malay mixed with Thai more.

Read more in Patani-Malay Language: The Decline of Mother Tongue Usage
By Mirinda Burarungrot : mirinda.bur@mahidol.ac.th

 
 

On a research field trip to study the Tai Lue Elderly in Chiang Kam, Phayao, I had a chance to participate in their activities and observed them gathering together at the guardian‐spirit shrine of the village at Ban Thung Mog, Tambon Chian Khan in Chiang Kam, Phayao.

Read more in The Happiness of Tai Lue Elderly
By Yongyuth Burasith : yongyut.bur@mahidol.ac.th

 
 

From February 18th – 21st, 2010, 25 graduate students from the "Culture and Development" program of RILCA (with 4 "Rural Development Studies" students) went on a field trip to Laos. When I taught "Rural Development Studies" students before this trip, there were many questions such as "What will you learn after going to Laos?"

Read more in Why are we going to Laos?
By Yongyuth Burasith : yongyut.bur@mahidol.ac.th

 
 

During 1982-1984, a group of Palaung people migrated from Doi Lai, Shan State in the southern part of Myanmar to No Lae Village, Fang District, Chiang Mai Province in northern part of Thailand. The village is located approximately 5-6 kilometers north of the Ang Khang Royal Project on the Thai-Myanmar border.

Read more in The Dara-ang (Palaung) in Thailand
By Sujaritlak Deepadung : sujaritlak.dee@mahidol.ac.th