|
|
|
|
|
|
|
หน้าแรก > วิจัย > กลุ่มวิจัย |
|
กลุ่มวิจัย |
|
|
ความหลากหลายทางวัฒนธรรมและสุขภาวะ
Cultural Diversity and Well-being Cluster (CDWe)
กลุ่มวิจัย “ความหลากหลายทางวัฒนธรรมและสุขภาวะ” (Cultural Diversity and Well-being: CDWe) เป้าหมายของกลุ่มวิจัยระยะสั้นในช่วง 4 ปี (2564-2567) สนใจผลพวงของความแตกต่างทางวัฒนธรรมที่เกิดจากการย้ายถิ่นและการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างประชากรสู่สังคมสูงอายุ ที่สัมพันธ์กับสุขภาวะของบุคคลและสังคมในมิติต่างๆ ซึ่งเป็นความท้าทายในศตวรรษที่ 21 โดย ใช้มุมมองทางวัฒนธรรมเพื่อสร้างความเข้มแข็งทางวิชาการและนำไปสู่ข้อเสนอแนะเชิงนโยบายและการจัดการที่เกี่ยวข้องกับความแตกต่างทางวัฒนธรรมที่คงไว้ซึ่งความสงบเรียบร้อย ความสมานฉันท์ สิทธิมนุษยชนและสิทธิทางวัฒนธรรม รวมทั้งเสนอมุมมองที่เป็นโอกาสในการพัฒนาเศรษฐกิจจากการย้ายถิ่นในบริบทไทยเชื่อมสู่สากล
ประธาน: รองศาสตราจารย์ ดร.ขวัญจิต ศศิวงศาโรจน์
สมาชิก
- อ.ดร.สิรินทร พิบูลภานุวัธน์
- รศ.ดร.นันทิยา ดวงภุมเมศ
- ผศ.ดร.ธีรพงษ์ บุญรักษา
- นายวิทยา ไชยดี
- อ.ดร.สุดปรารถนา ดวงแก้ว (คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล)
- รศ.ดร.กัณฑ์วีร์ วิวัฒน์พาณิชย์ (วิทยาลัยแพทยศาสตร์นานาชาติจุฬาภรณ์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์)
นักวิชาการต่างประเทศ
- Prof. Karl Husa, Geography and Regional Research,University of Vienna, Austria
- Asst. Pro. Gunnar Stange, Geography and Regional Research, University of Vienna, Austria
- Dr. Lukas Husa, Geography and Regional Research,University of Vienna, Austria
- Assoc. Prof. Yumi Kimura, Osaka University, Japan
- Assoc. Prof. Yasuko Ishimoto, Department of Health and Sports Science, Kawasaki University of Medical Welfare, Japan
เว็บไซต์: http://lcxtra.mahidol.ac.th/CDWe |
|
|
การสื่อสารเพื่อการพัฒนา (สพ)
Communication for Development (CD)
มุ่งวิจัยการบูรณาการองค์ความรู้ด้านการสื่อสารทั้งในโลกกายภาพและโลกเสมือนกับศาสตร์อื่นๆ เพื่อเสริมสร้างสุขภาวะที่ดี เสริมพลังคนไทยและชุมชนให้เกิดความเข้มแข็ง และสร้างผลกระทบทั้งในแง่ของการสร้างความเปลี่ยนแปลงระดับบุคคล ชุมชน และสังคมอย่างยั่งยืน ตลอดจนสร้างองค์ความรู้ใหม่ให้กับวงวิชาการและการวิจัยด้านการสื่อสารเพื่อการเปลี่ยนแปลงและการสื่อสารแบบมีส่วนร่วม
ที่ปรึกษา: รองศาสตราจารย์ ดวงพร คำนูณวัฒน์
ประธาน: รองศาสตราจารย์ ดร.นันทิยา ดวงภุมเมศ
สมาชิก
- ผศ.ดร.ธีรพงษ์ บุญรักษา
- อ.ดร.สิรินทร พิบูลภานุวัธน์
- ผศ.ดร.สุนิดา ศิวปฐมชัย
- อ.กฤตยา อกนิษฐ์
- ดร.ณรงเดช พันธะพุมมี
- รศ.ดร.วัชรพล วิบูลยศริน
เว็บไซต์: https://www.facebook.com/ศูนย์วิชาการด้านการรู้เท่าทันสื่อของผู้สูงอายุ-ICEM-893154410705339
|
|
|
สุนทรียศาสตร์ และสังคมวิทยาวัฒนธรรม
Aesthetics and Sociology of Culture
This cluster focuses on the interdisciplinary exchanges of members working in different areas related to texts (film, translated literature, media and arts), spaces (with the focus on the border-crossing between Thailand and Southeast Asia and beyond), and critical questions on power politics and sociology of culture. Members of the clusters have conducted research on fan/cinephile culture of East Asian cinema, film production studies, new film history, translated literature from/into Thai, games studies, practices and cultures of ethnic minorities in Thailand and generational mobility. Individual researchers received funding from Mahidol University, Thailand Research Fund, National Research Council of Thailand and British Academy.
Starting in 2019, members of the cluster also aim to work together each year under the shared thematic research enquiries and exchanges. Between 2019-2021, all three founding members co-supervised theses and organized various seminars that foster the shared research interests in cross-border cultures and postcolonial thoughts in Asia. The members agreed to write a paper each under this theme, which would contribute to the wider reflections for gaps and future works in postcolonial research works in relation to film, media, translated literature and cross-border cultures in the context of Thailand and Southeast Asia.
In 2022, the research cluster expands the focus to broader questions of Area Studies that intersect with film cultures, translated literature, and tourism culture/urban studies.
ประธาน: ดร.วิกานดา พรหมขุนทอง
สมาชิก
- ดร.กรญาณ์ เตชะวงค์เสถียร
- ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ณรงค์ อาจสมิติ
เว็บไซต์: https://www.rilcaaestheticsandculture.org |
|
|
ชาติพันธุ์ พิพิธภัณฑ์ และนวัตกรรมสังคม
Ethnicity, Museum, and Social Innovation
กลุ่มวิจัยภาและวัฒนธรรมกลุ่มชาติพันธุ์ ก่อตั้งมาตั้งแต่ปี พ.ศ. 2550 โดยยึดมั่นในพันธกิจการสร้างความเป็นเลิศทางวิชาการ เพื่อสร้างประโยชน์สุขให้แก่กลุ่มชาติพันธุ์ด้วยการวิจัย การจัดการเรียนการสอน และการบริการสังคมอย่างมีส่วนร่วมที่แท้จริงกับชุมชนชาติพันธุ์ต่าง ๆ ทั่วประเทศ งานวิจัยด้านชาติพันธุ์นับเป็นความเชี่ยวชาญอันแท้จริงของสถาบันฯ ตั้งแต่อดีตและยังสืบต่อไปในอนาคต กลุ่มวิจัยนี้ได้รวบนักวิจัยที่มีความสามารถเป็นเลิศ มีความชำนาญในสาขาวิชาต่าง ๆ ได้แก่ ภาษาศาสตร์ สังคมวิทยา มานุษยวิทยา นิเทศศาสตร์ จิตวิทยา วัฒนธรรมศึกษา สมาชิกกลุ่มวิจัยฯ พร้อมจะอุทิศตนทำงานในลักษณะบูรณาการงานร่วมกัน ในอีก 5 ปี ข้างหน้า กลุ่มวิจัยฯ จะมุ่งเน้นการทำวิจัยพื้นฐานและงานวิจัยเชิงประยุกต์เพื่อสร้างนวัตกรรม โดยยึดมั่นปรัชญาที่ว่า "ความสำเร็จที่แท้จริง อยู่ที่การนำความรู้ไปประยุกต์ใช้เพื่อประโยชน์ของสังคม
ที่ปรึกษา: ศาสตราจารย์ ดร.สมทรง บุรุษพัฒน์ และ รองศาสตราจารย์ ดร.สุจริตลักษณ์ ดีผดุง
ประธาน: ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ชิตชยางค์ ยมาภัย
สมาชิก
- ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ขนบพร วงศ์กาฬสินธุ์
- รองศาสตราจารย์ ดร.ศิริจิต สุนันต๊ะ
- ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ณรงค์ อาจสมิติ
- ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.พธู คูศรีพิทักษ์
- นายวีระพงศ์ มีสถาน
- ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ปัทมา พัฒน์พงษ์ (เลขานุการ)
|
|
|
ประเด็นข้ามชาติและพลวัต(พหุ)วัฒนธรรมในอาเซียน, อินเดีย และเอเชียแปซิฟิก
Transnational Issues and (Multi) Cultural Dynamics: ASEAN, India and the Asia Pacific (TIMDA)
กลุ่มประเด็นข้ามชาติและพลวัตทาง(พหุ)วัฒนธรรมในอาเซียน, อินเดียและเอเชียแปซิฟิก" เป็นกลุ่มวิจัยที่พัฒนามาจากกลุ่มวิจัยที่ทำงานภายใต้เครือข่ายมหาวิทยาลัยไทยคลัสเตอร์อาเซียน ซึ่งมีการทำงานร่วมกับคณะสถาบันในมหาวิทยาลัยมหิดล คือ คณะสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์ สถาบันสิทธิมนุษยชนและสันติศึกษา และเครือข่ายภายนอกภายใต้มหาวิทยาลัยวิจัยไทย และคณะสังคมสงเคราะห์ศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ คณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ และคณะโบราณคดี มหาวิทยาลัยศิลปากร กลุ่มมีการทำงานต่อเนื่องก่อนการตั้งกลุ่มวิจัยนี้ โดยเป้าหมายในการทำงานวิจัยพื้นฐานและงานวิจัยเชิงประยุกต์เพื่อสร้างนวัตกรรม และสร้างเครือข่ายการวิจัยทั้งในประเทศและต่างประเทศ
ที่ปรึกษา: ศาสตราจารย์ ดร.นฤมล นิทราทร และ รองศาสตราจารย์ ดร.ขวัญจิต ศศิวงศาโรจน์
ประธานกลุ่ม: ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.มรกต ไมยเออร์
สมาชิก
- รองศาสตราจารย์ ดร.โสภนา ศรีจำปา
- นายสิทธิพร เนตรนิยม
- อาจารย์วิมลสิริ เหมทานนท์ (MUIC)
- ผู้ช่วยศาสตราจารย์ วราภรณ์ มนไตรเวศย์ (ม.ศิลปากร)
- นางสาวมิรันดา ภูบาล
- นายอภิรัฐ คำวัง
- นางสาวพิมพ์พรรณ ทองเปลว (เลขานุการ)
|
|
|
มนุษยศาสตร์ดิจิทัล ภาษา และสังคม
Digital Humanities, Language, and Society (D-HULS)
กลุ่มวิจัยมนุษยศาสตร์ดิจิทัล ภาษา และสังคม มุ่งเน้นที่จะพัฒนางานวิจัยเชิงสหวิทยาการที่เกี่ยวข้องกับเทคโนโลยีเสียงพูดและภาษา ภาษาศาสตร์และการแปล ภาษาและอัตลักษณ์ในโลกดิจิทัล มานุษยวิทยาดิจิทัล ชาติพันธุ์วรรณาดิจิทัล พฤติกรรมศาสตร์ในยุคดิจิทัล และพฤติกรรมการสื่อสารผ่านสื่อออนไลน์ โดยเป็นแหล่งรวมนักวิจัยทางด้านภาษาศาสตร์ การแปล การศึกษา วิศวกรรมคอมพิวเตอร์ สังคมวิทยาและมานุษยวิทยา วัฒนธรรมศึกษา นิเทศศาสตร์ และพฤติกรรมศาสตร์ รวมทั้งเป็นแหล่งผลิตนักวิจัยรุ่นใหม่ระดับบัณฑิตศึกษาที่มีความสนใจการบูรณาการความรู้จากศาสตร์ของตนเข้ากับเทคโนโลยีดิจิทัลสมัยใหม่ การวิจัยพลวัตทางภาษาและสังคมในยุคดิจิทัล และการนำเทคโนโลยีดิจิทัลไปประยุกต์ใช้ในการพัฒนาชุมชนและสังคม
ประธาน: ดร.สราวุฒิ ไกรเสม
สมาชิก:
- ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.มยุรี ถาวรพัฒน์
- ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.สุนิดา ศิวปฐมชัย
- ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.อธิป ธรรมวิจิตร
- ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.พิชญาณี พูนพล (สถาบันวิจัยพฤติกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ)
- อาจารย์จตุรวิทย์ ทองเมือง (ภาควิชาสังคมวิทยาและมานุษยวิทยา คณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย)
- อาจารย์ศศิวิมล คงสุวรรณ (สถาบันการจัดการปัญญาภิวัฒน์)
- ดร.ยูเนียนสาสมีต้า สาเมาะ
- ดร.เทพชัย ทรัพย์นิธิ (ทีมวิจัยเทคโนโลยีภาษาธรรมชาติและความหมาย ศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ)
- ดร.ปรัชญา บุญขวัญ (ทีมวิจัยเทคโนโลยีภาษาธรรมชาติและความหมาย ศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ)
- นายธนนท์ หลีน้อย (ทีมวิจัยเทคโนโลยีภาษาธรรมชาติและความหมาย ศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ)
- ดร.ณรงเดช พันธะพุมมี (เลขานุการ)
|
|
|
จีน - ไทยศึกษา
Chinese - Thai Studies (CTS)
จีนเป็นประเทศมหาอำนาจที่มีอิทธิพลต่อเศรษฐกิจและความมั่นคงของโลกในยุคปัจจุบัน อีกทั้งยังมีความสัมพันธ์ทางการทูตกับไทยมาอย่างยาวนานเป็นเวลากว่า 47 ปี (ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2518) สำหรับสถาบันวิจัยภาษาและวัฒนธรรมเอเชีย ได้เปิดให้บริการวิชาการจัดการเรียนการสอนให้กับนักศึกษาจีนมาเป็นเวลากว่า 5 ปี และประสบความสำเร็จได้รับการยอมรับจากนักศึกษาจีนเป็นอย่างยิ่ง ทางกลุ่มวิจัยจึงได้ก่อตั้งกลุ่มจีน-ไทยศึกษาขึ้นมา โดยมุ่งเน้นการศึกษาวิจัยในลักษณะสหวิทยาการ ที่เกี่ยวข้องกับประเด็นเชื่อมโยงระหว่างประเทศจีนและประเทศไทย ไม่ว่าจะเป็นเรื่องภาษา วัฒนธรรม ความเชื่อ ความศรัทธา อาหาร ประวัติศาสตร์ การเมือง การปกครอง เศรษฐกิจหรือสภาพสังคมต่างๆ การอพยพย้ายถิ่น ที่เกี่ยวกับชาวจีนในไทยและภูมิภาคเอเชีย หรือชาวไทยในจีนตอนใต้ เพื่อมุ่งหวังให้เกิดองค์ความรู้ที่เกี่ยวข้องกับการศึกษาเรื่องจีน-ไทย ก่อให้เกิดความรู้ที่เอื้อประโยชน์ต่อการพัฒนาศักยภาพของนักวิจัยในกลุ่ม ตลอดจนขยายผลไปสู่การพัฒนาศักยภาพในการจัดบริการวิชาการและต่อยอดการนำผลงานวิจัยไปใช้ประโยชน์ การชี้แนะเชิงนโยบาย อีกทั้งยังเป็นการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ และขยายเครือข่ายไปยังนักวิชาการผู้สนใจศึกษาเรื่องจีน-ไทยศึกษาในบริบทต่างๆจากทุกภูมิภาคของโลก นอกจากนี้ยังมีการจัดเสวนาให้ความรู้เกี่ยวกับวิถีปฏิบัติ ประเพณี ศิลปกรรม จิตกรรม วรรณกรรมจีน อาหารที่เชื่อมโยงกับวัฒนธรรมจีนแลอื่นๆ เพื่อให้ความรู้แก่บุคคลทั่วไปด้วย
ประธาน: รองศาสตราจารย์ ดร.ศิริเพ็ญ อึ้งสิทธิพูนพร
สมาชิก
- ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.เรณู เหมือนจันทร์เชย
- ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.วีรานันท์ ดำรงสกุล (คณะศิลปศาสตร์ ม.มหิดล)
- ดร.สุภาพร คชารัตน์
- อาจารย์จุฬาลักษณ์ นาควัฒนเศรษฐ์ (นักวิชาการอิสระ)
- อาจารย์ ไห่หยาง (โรงเรียนภาษาและวัฒนธรรมก้าวหน้า อ.ไห่หยาง)
|
|
|
สาธารณศิลป์
Public Arts
กลุ่มวิจัยนี้สนใจศึกษาความหมายสาธารณศิลป์ผ่านกระบวนการการสร้างสรรค์ การสร้างความหมายภาษาและวัฒนธรรม พื้นที่สาธารณะและการจัดแสดง ให้ความสำคัญกับความร่วมมือระหว่างนักวิชาการ ศิลปินและชุมชน ภูมิทัศน์วัฒนธรรม การออกแบบเมืองหรือชุมชนที่หลากหลายมุ่งเน้นการฟื้นฟูสภาพแวดล้อมด้วยศิลปกรรม การปรับปรุงภาพลักษณ์ชุมชน การสนับสนุนกิจกรรมของชุมชมอีกทั้งยังส่งเสริมความรู้สึกของการเป็นชุมชน ความตระหนักรู้ถึงอัตลักษณ์ท้องถิ่น การส่งเสริมการพัฒนาเครือข่ายทางสังคมและการบูรณาการทางสังคมผ่านกระบวนการมีส่วนร่วมและวิธีการให้ความรู้และการกระตุ้นให้เกิดการเปลี่ยนแปลงทางสังคม รวมไปถึงการใช้สุนทรียศาสตร์เชิงสัมพันธ์ที่ให้ความสำคัญกับการทำงานร่วมกันอย่างสร้างสรรค์และการส่งเสริมความหลากหลายทางวัฒนธรรมของชุมชน กลุ่มวิจัยทำงานด้วยวิธีการที่หลากหลายทั้งวิธีวิทยาและการบูรณาการศาสตร์และให้ความสำคัญกับการพัฒนาที่ยั่งยื่น (SDGs) ในหลากหลายมิติ โครงการที่กลุ่มดำเนินการในปัจจุบัน เช่น โครงการสาธารณศิลป์:การสร้างสรรค์ศิลปกรรมเพื่อวิถีความเหมาะสมใหม่ในการขับเคลื่อนสังคมวัฒนธรรมหลังสถานการณ์โรคระบาดโควิด-19, สองวัยเข้าใจสื่อ: การขับเคลื่อนงานเฝ้าระวังและการรู้เท่าทันสื่อกับกลุ่มเยาวชนสู่กลุ่มผู้สูงวัยผ่านมิติวัฒนธรรม, โครงการเยาวชนร่วมใจรักษ์ภาษาวัฒนธรรมท้องถิ่น เพื่อการต่อยอดและเพิ่มมูลค่ามรดกภูมิปัญญาท้องถิ่น, โครงการสืบสาน ฟื้นฟู และพัฒนาศักยภาพด้านศิลปวัฒนธรรมและภูมิปัญญาท้องถิ่นไทยสู่นวัตกรรมเชิงสร้างสรรค์ และ Music across generations: A project to promote intergenerational relationships and well-being through music เป็นต้น
ประธาน: ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.นันธิดา จันทรางศุ
สมาชิก:
- ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.สุมิตรา สุรรัตน์เดชา
- อาจารย์ ดร.สกาวรุ้ง สายบุญมี
|
|
|
|
|
|
|
|
|