สถาบันวิจัยภาษาและวัฒนธรรมเอเชีย มหาวิทยาลัยมหิดล ได้ทำหน้าที่การสร้างความรู้พื้นฐานทางด้านภาษาและวัฒนธรรมให้เป็นทุนในการพัฒนาประเทศแก่องค์กรต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง ถือเป็นหน้าที่สำคัญอันดับแรกของสถาบันฯ โดยเฉพาะอย่างยิ่งการศึกษาวิจัยสร้างองค์ความรู้ด้านภาษาและวัฒนธรรมของกลุ่มชาติพันธุ์ต่างๆ ในประเทศไทย ซึ่งสถาบันฯ ดำเนินไปอย่างมีเป้าหมาย และมีจุดประสงค์ชัดเจนโดยตระหนักถึงความสำคัญของผู้คนเจ้าของวัฒนธรรมที่มีความแตกต่างในวิถีการดำรงชีพ ผลงานการวิจัยของสถาบันฯ หลายเรื่องถูกนำไปใช้ในการกำหนดกรอบนโยบายการบริหารประเทศเกี่ยวกับกลุ่มชาติพันธุ์ซึ่งรัฐได้เน้นให้ความสำคัญ คุณค่า และศักดิ์ศรีของความเป็นมนุษย์อย่างเป็นรูปธรรมมากขึ้น โดยการส่งเสริมให้เจ้าของภาษา และวัฒนธรรมนั้น ๆ ตระหนักในคุณค่าของกลุ่มชาติพันธุ์ตนเอง และสามารถอยู่ร่วมกันในสังคมได้อย่างสมานฉันท์ด้วย
โดยฝ่ายการวิจัย มีผู้บริหารสถาบันฯ รับผิดชอบด้านการศึกษาวิจัยสร้างองค์ความรู้ ด้านภาษาวัฒนธรรมและการพัฒนา เพื่อนำมาใช้จัดการทำการเรียนการสอน การบริการวิชาการ และการทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม ของสถาบันฯ ให้เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ โดยแบ่งกลุ่มวิจัย (Clusters) ออกเป็นกลุ่มต่าง ๆ ได้แก่
- สื่อสารเพื่อการพัฒนา
- การสนทนาอย่างสร้างสรรค์และนวัตกรรมทางวัฒนธรรม
- ภาษาและวัฒนธรรมในภาวะวิกฤต
- ภาษาและวัฒนธรรมกลุ่มชาติพันธุ์
- พิพิธภัณฑ์
- ภาษาและวัฒนธรรมประเทศเพื่อนบ้าน
- วิจัยเพื่อท้องถิ่น
- สังคมวัฒนธรรมในยุคโลกาภิวัฒน์
แผนภูมิแสดงโครงสร้างการบริหารงานฝ่ายวิจัย
จำนวนบุคลากรวิจัย
ปีงบประมาณ |
อาจารย์ (คน) |
นักวิจัย (คน) |
รวม |
ปกติ |
ลาเรียน |
ปกติ |
ลาเรียน |
2551 |
30 |
0 |
7 |
1 |
36 |
2552 |
30 |
0 |
6 |
1 |
35 |
2553 |
30 |
1 |
1 |
1 |
33 |
2554 |
30 |
1 |
1 |
1 |
33 |
2555 |
27 |
2 |
1 |
1 |
31 |
จำนวนเงินทุนวิจัยต่อจำนวนโครงการในรอบ 5 ปี
สัดส่วนจำนวนทุนการวิจัยที่ได้รับ