สาธารณศิลป์ อยู่เย็นเป็นสุข ณ ศาลายา

การสร้างสรรค์สาธารณศิลป์รองรับบริบทสังคมวัฒนธรรมหลังวิกฤตโควิด-19

กลุ่มวิจัยนิเวศวิทยาวัฒนธรรม สถาบันฯ ประสานพลังกับภาคีเครือข่ายนักวิจัย นักวิชาการ และศิลปิน พัฒนาโมเดลงานสาธารณศิลป์ (SDGs 17) บนฐานความคิด “เก็บ-ทิ้ง-สร้าง” เพื่อสร้างสรรค์พื้นที่สาธารณะในการปลอบประโลมใจหรือสร้างขวัญกำลังใจให้ชุมชนและสังคมกลับมามีความหวังและความสุข (SDGs 16) ด้วยดนตรีและเสียงเพลงในโลกหลังวิกฤตโควิด-19

สถาบันวิจัยภาษาและวัฒนธรรมเอเชีย มหาวิทยาลัยมหิดล โดย กลุ่มวิจัยนิเวศวิทยาวัฒนธรรม จัดงาน “สาธารณศิลป์ อยู่เย็นเป็นสุข ณ ศาลายา” โดยมี นายชยชัย แสงอินทร์ รองผู้ว่าราชการจังหวัดนครปฐม เป็นประธานเปิดงาน และนายอดุลกิตติ์ อินแก้ว ปลัดอำเภอหัวหน้ากลุ่มงานบริหารงานปกครอง รักษาราชการแทนนายอำเภอพุทธมณฑล กล่าวรายงานวัตถุประสงค์ของการจัดงานในวันที่ 13 กรกฎาคม 2565 ณ วัดสุวรรณาราม จังหวัดนครปฐม ในโอกาสนี้ ได้รับเกียรติจาก รองศาสตราจารย์ ดร.ภก.สมภพ ประธานธุรารักษ์ รองอธิการบดีฝ่ายพัฒนาคุณภาพและบริการวิชาการ มหาวิทยาลัยมหิดล เข้าร่วมงานพร้อมกล่าวให้กำลังใจและแสดงความขอบคุณต่อคณะวิจัยในครั้งนี้

ภายในงานได้จัดกิจกรรมการแสดงทางวัฒนธรรมมากมาย อาทิ การทำตุ๊กตาฉลุจากกระดาษ การตกแต่งขวดสเปรย์แอลกอฮอล์แฟนตาซี  การปั้นแหวานแทนใจ และมหรสพรื่นเริงจากทุนทางวัฒนธรรมของทางพื้นที่ศาลายา ไม่ว่าจะเป็นการแสดงเพลงแหล่ เพลงเรือ ลิเก ละครชาตรี แตรวง โดย เครือข่ายศิลปินชื่อดังจากภายนอกชุมชน รวมทั้งมีการเปิดตัวต้นกัลปพฤกษ์ ในความหมายของ “Wishing Tree” ที่เกิดจากการบูรณาการศิลปกรรมหลายแขนงเข้าด้วยกัน โดยหวังว่า กิจกรรมดังกล่าวจะนำมาสู่ “การเยียวยาจิตใจและเปิดพื้นที่แห่งความสุข” ให้กับคนในศาลายา

งานสาธารณศิลป์ “อยู่เย็นเป็นสุข ณ ศาลายา” เป็นส่วนหนึ่งของโครงการวิจัยสาธารณศิลป์ : การสร้างสรรค์ศิลปกรรมเพื่อวิถีความเหมาะสมใหม่ในการขับเคลื่อนสังคมวัฒนธรรมหลังสถานการณ์ระบาดของโควิด-19 โดยมี ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.นันธิดา จันทรางศุ (ประธานกลุ่มวิจัยนิเวศวิทยาวัฒนธรรม/หัวหน้าโครงการฯ)ดร.วิจิตร อภิชาตเกรียงไกร ผศ.ดร. ภาวิณี บุญเสริม และภาคีศิลปิน นักวิชาการสาขาศิลปกรรมศาสตร์ ร่วมกันพัฒนาโมเดลงานสาธารณศิลป์เพื่อเยียวยาจิตใจของชุมชนศาลายา จังหวัดนครปฐม โดยการสร้างสรรค์“ศิลปกรรมที่มีสุนทรียภาพและมีความเหมาะสมใหม่” บนฐานคิดสำคัญ ได้แก่ “เก็บ” คือ อนุรักษณ์ทุนทางวัฒนธรรมชุมชน “ทิ้ง” คือ ทิ้งสิ่งที่ไม่เหมาะสมบางอย่าง “สร้าง” คือ รื้อและสร้างใหม่อย่างสร้างสรรค์ผ่านกระบวนการมีส่วนร่วมของชุมชนผ่านงานดนตรี การแสดง ทัศนศิลป์และประติมากรรม ที่จะนำไปสู่การสร้างพื้นที่สาธารณะในการเยียวยาและการสร้างสรรค์สังคมให้ฟื้นคืนจากวิกฤติ COVID-19 ซึ่งสามารถปรับเปลี่ยนรูปแบบได้ตามบริบทของพื้นที่อื่น ๆ ได้ในอนาคตเพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืน

Art for Public Yoo Yen Pen Sook at Salaya Exhibition

On 18 July 2022, RILCA, Mahidol University, in partnership with the Community Based Cultural Ecology Research Group, presented ‘Art for Public Yoo Yen Pen Sook at Salaya.’ Mr Chayachai Saengin, Deputy Governor of Nakhon Pathom, delivered the opening remarks, and Mr Adulkit Inkaew, Head of Administration, on behalf of the Phutthamonthon District Chief, addressed the assembly at Wat Suwannaram, Nakhon Pathom, with a report and expression of gratitude.